วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีประทีป

ชื่อกลุ่ม McT CitY


สมาชิกกลุ่ม ม.4/1
1.นาย ณัฐพงศ์ มะณี เลขที่ 23
2.นางสาว ผ่องนภา คิดหา เลขที่ 26
3.นางสาว จุฑามาศ เมืองมูล เลขที่ 21

ประเพณีแห่ประทีป
ฉากแรก สัมภาษณ์พระอธิการศรสุรินทร์ ขันติษโร เกี่ยวกับตำนานประทีป

ผู้สัมภาษณ์ " กราบนมัสการพระอาจารย์ ผมอยากทราบว่าประเพณีแห่ ประทีปมีความเป็นมาอย่างไรครับ "
ต่อมาให้ พระอธิการศรสุรินทร์ ขันติโร เล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของประทีป

ฉาก 2 " ขอเชิญ ทุกๆท่ารร่วมสัมผัสประเพณีการแห่ประทีปที่บ้านทุ่งกล้วยครับ " แล้วก็จะมีภาพการตักบาตรตอนเช้า การทำพิธีกรรมทางศาสนา (เฉพาะตอนสั้นๆ)การทำประทีป

ฉาก 3 " ตอนนี้ เวลา 20.00 น. ชาวบ้านมีการแห่ประทีป แล้วครับ " ถ่ายตั้งแค่การแห่ประทีป ไปที่วัดแล้วไหว้พระ บุชาประทีป จุดบอกไฟดอก ปล่อยโคมไป และ ลอยกระทง

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประทีป

ชื่อกลุ่ม McT CitY

สมาชิกกลุ่ม ม.4/1
1.นาย ณัฐพงศ์ มะณี เลขที่ 23
2.นางสาว ผ่องนภา คิดหา เลขที่ 26
3.นางสาว จุฑามาศ เมืองมูล เลขที่ 21

กลุ่มสาระ
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ในหัวข้อเรื่อง
ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เกี่ยวกับประเพณีชองภาคเหนือค่ะ

จะเริ่มถ่ายตั้งแต่การตานขันข้าวตอนเช้าที่วัดหลังจากนั่น ไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แล้วออกมาปล่อยโคมลอยที่ลานกลางแจ้ง เวลาประมาณ 9.30 น. ชาวบ้านจะเริ่มช่วยกันทำประทีปถึงช่วงเย็นๆ มีการแห่ประทีปประมาณ 19.00น. แห่ไปจนถึงที่วัด แล้วปล่อยโคมไฟตานประทีปให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และทำบุญให้กับตัวเอง จุดพรุ ลอยกระทง เปนการเสร็จพิธีลอยกระทงแบบล้านนา

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

แนวทางสมัคร

แนะแนวทางการศึกษา ม.6 (หญิง) - ว.พยาบาลกองทัพอากาศ
วิทยาลัยพยาบาลกองทัพอากาศ เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่สำเร็จชั้น ม.6 สายวิทยาศาสตร์
สอบคัดเลือกเป็นนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ โดยมีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี
สำเร็จแล้วได้พระราชทานปริญญาพยาบาลศาสตร์ (พย.บ.) และบรรจุเข้ารับราชการได้รับพระราชทานยศ เป็นนายทหาร
(เรืออากาศตรีหญิง) โดยมีระเบียบการย่อดังนี้

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพอากาศ
สถานที่ตั้ง ในบริเวณโรงพยาบาลภูมิพลฯ ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ โทร. 0 2534 2648
หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
คุณสมบัติผู้สมัคร สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 สายวิทย์-คณิต อายุ 16-22 ปี น้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 ก.ก.
ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 155 ซ.ม.
วิชาที่สอบ คณิตศาสตร์ 1, เคมี, ชีววิทยา, ฟิสิกส์, สังคมศึกษา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ
โดยนำผลการสอบวิชาหลัก 01-07
จากทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับผลการเรียนระดับมัธยมปลาย (GPAX และ PR) มาตัดสิน

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

VDO

เป็น VDO เกี่ยวกับ พยาบาล ค่ะ

MV เพลง โรงพยาบาล

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เท่มาก








































วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พยาบาลทหารค๊ ^_^

พยาบาลทหารอากาศ
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศเป็นวิทยาลัยพยาบาลสังกัด กรมแพทย์ทหารอากาศ มีหน้าที่ผลิตบุคลากรทางด้านพยาบาลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความรู้ความสามารถที่จะทำหน้าที่พยาบาล โดยเป็นสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ เป็นสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับ สถาบัน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 โดยมีวิสัยทัศน์ "เป็นสถาบันชั้นนำระดับชาติ ในการผลิตบัณฑิตพยาบาลคุณภาพ มีคุณธรรมนำความรู้ มีคุณลักษณะทางทหารและพยาบาลเวชศาสตร์การบิน ให้บริการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์" มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตบุคลากรทางการพยาบาล มีผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ดอกไม้ประจำพยาบาลทหารอากาศ
สวีแด ..... เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Gliricidia Sepium Steud มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ใบเป็นใบรวม ออกดอกปีละครั้งในฤดูหนาว ลักษณะคล้ายดอกโสนหรือดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อ ๆ มี 2 ชนิด คือ ชนิดดอกสีชมพู และดอกสีขาว ดอกอยู่นาน รับประทานได้อย่างผัก และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ คนทั่วไปเรียกว่า " แคฝรั่ง "

ประวัติกองทัพอากาศ
แนวความคิดในการมีเครื่องบินไว้ใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์
มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่สนามม้าสระปทุม เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔
จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสด็จไปยุโรป
ทรงทราบข่าวว่า ประเทศฝรั่งเศสได้ปรับปรุงการบินเป็นการใหญ่ เมื่อเสด็จกลับมายังประเทศไทย
จึงทรงปรึกษากับ จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมกลวงพิษณุโลก
ประชานารถ เสนาธิการทหารบก ซึ่งได้ทรงเห็นความสำคัญของการบินอยู่ก่อนแล้วว่า ประเทศไทยควร
จะได้นำการบินเข้ามาใช้ประโยชน์ในราชการทหาร สำหรับการป้องกันประเทศ จึงได้ทรงคัดเลือกนายทหาร
๓ นาย ส่งไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในกิจการบินขณะนั้น
นายทหาร ๓ นาย ที่ได้รับการคัดเลือก คือ
๑. นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป)
๒. นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินสุข)
๓. นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต
นายทหารทั้งสามได้เดินทางไปประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษาวิชาการบิน เมื่อวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ และเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๖
ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบิน ๗ เครื่อง คือ แบบเบร์เกต์ ปีก ๒ ชั้น ๓ เครื่อง แบบนิเออปอร์ต
ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้บริจาคเงินซื้อ แบบเบร์เกต์ ให้อีก
๑ เครื่อง รวมเป็น ๘ เครื่อง กำลังทางอากาศของไทยเริ่มต้นด้วยเครื่องบิน ๘ เครื่อง โดยจัดตั้งเป็น
แผนกการบิน ขึ้นในกองทัพบก และให้อยู่ในบังคับบัญชาของ จเรทหารช่าง และนับได้ว่านายทหาร
ทั้งสามเป็นนักบินชุดแรกของประเทศไทย
แผนกการบิน ได้ยกฐานะขึ้นเป็น กองบินทหารบก เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๗
และได้ย้ายจากสนามม้าสระปทุม มาตั้งที่ดอนเมือง มีพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นผู้บังคับการ
กองบินทหารบก ได้ยกฐานะเป็น กรมอากาศยานทหารบก เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๑
เนื่องจากกิจการบินได้เจริญขึ้นเป็นอันมาก และกระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ
หาใช่เป็นกำลังเฉพาะทหารบกเท่านั้น แต่มีประโยชน์แก่กิจการอย่างอื่นอีกด้วย เช่น การพาณิชยกรรม
การคมนาคม ฯลฯ เป็นต้น จึงได้แก้ไขชื่อหน่วยให้เหมาะสมและตรงตามความมุ่งหมาย โดยแก้ไขชื่อ
กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม
พ.ศ.๒๔๖๔

กรมอากาศยาน ได้แยกออกจากกรมเสนาธิการทหารบก เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวง
กลาโหม เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๙ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ กรมอากาศยาน เป็น
กรมทหารอากาศ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘
กรมทหารอากาศ ได้ยกฐานะเป็น กองทัพอากาศ เทียบเท่ากองทัพบก และ กองทัพเรือ
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ นาวาอากาศเอก
พระเวชยันต์รังสฤษฎิ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ
กองทัพอากาศ ได้พิจารณาเห็นว่า จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์
ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ทรงดำริริเริ่มในการจัดตั้งแผนกการบินขึ้น และได้ทำนุบำรุง
ส่งเสริมให้กิจการบินเจริญขึ้นโดยรวดเร็ว จนเป็นกองทัพอากาศที่เจริญก้าวหน้า ในเวลาต่อมาได้รับการ
เทิดทูนว่าเป็น “พระบิดาแห่งกองทัพอากาศ” และ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก
พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต เป็นผู้วางรากฐานและสร้างความเจริญ
ให้แก่กิจการบินของประเทศไทย โดยเฉพาะกองทัพอากาศ ได้รับการเชิดชูว่าเป็น “บุพการีแห่ง
กองทัพอากาศ” และได้ถือเอาวันที่ ๒๗ มีนาคม เป็นวันสถาปนากองทัพอากาศ
ภารกิจของกองทัพอากาศ
กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหาร
อากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1 หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ ตระหนักถึงความจาเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาล สนองความต้องการของกองทัพอากาศและสังคม สอดคล้องกับการปฏิรูประบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ การพึ่งตนเองทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้จะต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่หลากหลาย เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณลักษณะทางทหารที่ดีและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การปรับปรุงหลักสูตรจึงมีลักษณะของการบูรณาการ สาระหลักของเนื้อหาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะและหมวดวิชาทหาร ให้เป็นไปตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมากที่สุด
2 ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความคิด วิจารณญาณ คุณธรรม จริยธรรม มีจิตสานึกสาธารณะ มีคุณลักษณะทางทหาร และความรู้ทางการพยาบาลเวชศาสตร์การบิน สามารถนาศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน สามารถให้บริการทางการแพทย์ทหารทั้งยามปกติและฉุกเฉิน ให้การพยาบาลอย่างเอื้ออาทร และมีความสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๑. ประยุกต์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์สาขาอื่น ๆ โดยใช้กระบวนการพยาบาลด้วยความเอื้ออาทรตามมาตรฐานวิชาชีพแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน ครอบคลุม กาย จิตสังคมและปัญญา ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้สามารถปรับตัวและดูแลตนเองได้
๒. ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยคานึงถึงสิทธิมนุษยชน กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓. สามารถให้การรักษาโรคเบื้องต้น ตามขอบเขตกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สอนและให้คาปรึกษาแก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน ตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
๔. ประยุกต์ความรู้ในวิชาชีพการพยาบาล การพยาบาลทหาร การพยาบาลเวชศาสตร์การบิน และศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมสนับสนุนบริการทางการแพทย์ทหารทั้งยามปกติและฉุกเฉิน
๕. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ปฏิบัติการพยาบาลโดยคานึงถึงคุณค่า ศักดิ์ศรีของผู้ใช้บริการในฐานะปัจเจกบุคคล ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดูแลสุขภาพ สามารถปรับตัวตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
๖. มีภาวะผู้นา มีความคิดวิจารณญาณ ริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบริหารจัดการตนเอง รวมทั้งงานที่รับผิดชอบ
๗. แสวงหาและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้แหล่งทรัพยากร นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพการพยาบาล
๘. มีทักษะในการสื่อสาร เพื่อสร้างสัมพันธภาพและประสานงานกับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
๙. ทาวิจัย และ/หรือมีส่วนร่วมในการทาวิจัย นาผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและสังคม
๑๐. เป็นนายทหารสัญญาบัตรที่ดี จงรักภักดีต่อ สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๑๑. เป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม เอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มีจิตสานึกสาธารณะ ดารงชีวิตอย่างพอเพียง และมีความสุข ธารงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

4 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑ สาเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๖ แผนการเรียนคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์ โดยผ่านการสอบระบบกลาง (Admissions) ของสานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๕ กลุ่มวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ (เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์)
๒ สถานภาพ สตรีโสด อายุไม่ต่ากว่า ๑๗ ปี และไม่เกิน ๒๒ ปี
๓ มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกาเนิด เว้นแต่บิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกาเนิดอยู่แล้ว มารดาจะไม่มีสัญชาติไทยโดยกาเนิดก็ได้
๔ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ รูปร่างลักษณะท่าทางและขนาดของร่างกาย เหมาะสมแก่การรับราชการทหาร
๕ มีความประพฤติดี ไม่บกพร่องทางศีลธรรม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๖ ไม่เป็นโรคที่กาหนดไว้ตามกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือไม่มีโรคประจาตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลจากการตรวจร่างกาย
๗ ไม่มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว
๘ ไม่อยู่ระหว่างเป็นผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคาพิพากษาโทษจาคุกหรือกักขัง
๙ ไม่เป็นผู้ถูกให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน เนื่องจากความประพฤติ
๑๐ ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ หรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย

5 การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
การสอบคัดเลือกมี ๒ ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นที่๑ รับแบบใช้ระบบกลาง (Admissions) โดยใช้ผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ขั้นที่ ๒ การทดสอบพิเศษ สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย
6 ระบบการศึกษา

๑ ใช้ระบบทวิภาค กาหนดให้ปีการศึกษามี ๒ ภาคการศึกษาปกติ และ ๑ ภาคการศึกษาฤดูร้อน
๑.๑ การศึกษาภาคปกติ มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๖ สัปดาห์
๑.๒ การศึกษาภาคฤดูร้อน มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๘ สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องมีชั่วโมงศึกษาของแต่ละวิชาเท่ากับชั่วโมงศึกษาในภาคปกติ
๒ การเทียบค่าหน่วยกิตในระบบทวิภาค
๒.๑ การบรรยายหรือการศึกษาที่เทียบเท่าให้คิด ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า ๑๖ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา เป็นปริมาณการศึกษา ๑ หน่วยกิต
๒.๒ การปฏิบัติการ การทดลอง การสาธิต หรือการศึกษาที่เทียบเท่าให้คิด ๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติหรือ ๓๒ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา เป็นปริมาณการศึกษา๑ หน่วยกิต
๒.๓ การฝึกปฏิบัติการพยาบาล หรือการฝึกภาคสนาม(ภาคฝึกงานวิชาชีพ)ให้คิด ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติหรือ ๖๔ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา เป็นปริมาณการศึกษา ๑ หน่วยกิต

7 ระยะเวลาการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๘ ภาคการศึกษาปกติ ๓ ภาคการศึกษา ฤดูร้อน และไม่เกิน ๑๖ ภาคการศึกษาปกติ และ ๖ ภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยต้องศึกษาครบตามจานวนหน่วยกิตที่กาหนดไว้ในหลักสูตรคือไม่ต่ากว่า ๑๔๐ หน่วยกิต
8 การลงทะเบียนเรียน
เป็นไปตามข้อบังคับ / ระเบียบของมหาวิทยาลัยมหิดล / ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบของวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ โดยให้ลงทะเบียนได้ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิตในแต่ละภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาฤดูร้อนให้ลงทะเบียนได้ไม่เกิน ๑๐ หน่วยกิต กรณีมีความจาเป็นพิเศษ การลงทะเบียนที่มีจานวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากนี้ย่อมกระทาได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานการศึกษา
9 การวัดผลและการสาเร็จการศึกษา
เป็นไปตามระเบียบกรมแพทย์ทหารอากาศ ว่าด้วยการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๔๑ และข้อกาหนดวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ ว่าด้วยการปฏิบัติในการวัดและการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
10 หลักสูตร
๑ จานวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๐ หน่วยกิต
๒ โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๘ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา ๑๒ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ๑๐ หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ ๙๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ๒๗ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาชีพ ๗๒ หน่วยกิต
ภาคทฤษฎี ๔๗ หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ ๒๕ หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต
ง. หมวดวิชาทหาร ๕ หน่วยกิต
๓ รายวิชา
ก. รหัสวิชาตัวอักษร ๔ ตัว กาหนดดังนี้
รหัสตัวอักษร ๒ ตัวแรก (พอ) เป็นอักษรย่อของวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ Royal Thai Air Force Nursing College (AF)
รหัสตัวอักษร ๒ ตัวหลัง เป็นอักษรย่อของหมวดวิชาและวิชาต่างๆ ในหลักสูตร
๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (วศ)
General Education (GN)
๒ หมวดวิชาเฉพาะ (วฉ)
- กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
Basic for Nursing Education (BS)
- กลุ่มวิชาชีพ
Nursing Education (NS)
๓ หมวดวิชาเลือกเสรี (วล)
Elective Education (EL)
๔ หมวดวิชาทหาร (วท)
Military Education (MI)